จากกราฟ จะเห็นว่าประเภทเกมที่ได้รับความสนใจมากที่สุดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 คือเกมประเภท Action รองลงมาคือเกมแนว Sports เนื่องจากเกมแนว Action เป็นเกมที่ใช้การบังคับทิศทางและการกระทำของตัวละครในเกมเพื่อผ่านด่านต่างๆไปให้ได้ ทำให้เกิดความท้าทายในการเล่นมากยิ่งขึ้น
และจากกราฟจะเห็นว่าประเภทเครื่องเล่นเกมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 คือเครื่องเล่นเกมประเภท Home Video Game Consoles เป็นประเภทที่เล่นผ่าน Joystick หรืออุปกรณ์เสริม เล่นผ่านจอทีวี เนื่องจากในช่วงยุคสมัยนั้น การเล่นเกมส์ผ่าน PC ยังไม่ได้รับความนิยมมาก ด้วยการพัฒนาของคอมพิวเตอร์ยังไม่ทันสมัยและรองรับเกมส์ได้เท่าเครื่องเล่นเกมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเล่นเกมส์โดยเฉพาะ เช่น PSP, PS2 เป็นต้น
จากกราฟสังเกตได้ว่า ประเภทของเกมที่นิยมผลิตมากที่สุดคือ Action เพราะเกม Action เป็นเกมที่เข้าถึงง่าย ไม่ซับซ้อน วิธีการเล่นง่าย เมื่อเทียบกับเกมประเภทอื่น ๆ เช่น Simulation ที่เมื่อเข้าเกมผู้เล่นจะต้องเรียนรู้เครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจนานกว่า
เกมอีกประเภทที่ได้รับความนิยมในการผลิตอันดับสองคือ Sports โดยจะสังเกตุได้ว่า ปีที่มีการผลิตเกมเกี่ยวกับกีฬาออกมาเพิ่มขึ้นจากปกติ จะเป็นปีที่มี Event สำคัญ ๆ เกี่ยวกับกีฬาเช่น ปี 2002 มี 2002 FIFA World Cup ต่อมาในปี 2008 ก็มี Beijing 2008 Summer Olympics ซึ่งทำให้คนสนใจกีฬามากขึ้น ค่ายเกมจึงใช้ช่วงเวลาเหล่านี้ ผลิตเกมเกี่ยวกับกีฬาออกมา
อีกประเภทของเกมที่ได้รับ ความนิยมไม่แพ้กัน นั่นก็คือ Shooter โดยจะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2008 มีการผลิตเกมประเภทนี้สูงมาก เนื่องจากในช่วงก่อนหน้านั้นมีเกม Shooter ที่ขายได้ดีและเรตติงสูงมาก เช่น Halo: Combat Evolved (2001), Medal of Honor: Frontline (2002) และ Halo 2 (2004) ทำให้ค่ายเกมต่าง ๆ มีความสนใจที่จะผลิตเกมแนวนี้เพิ่มขึ้น
อีกหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลก็คือการเปิดตัวและวางจำหน่ายของเครื่องเล่นเกมชนิดใหม่ ยกตัวอย่างเช่น PlayStation 2 (2000), Nintendo DS (2004), Wii (2005), XBox360 (2005) และ PlayStation 3 (2006) จะสังเกตได้ว่าช่วงปีเหล่านี้ได้เริ่มมีเกมวางจำหน่ายมากกว่าปกติ ซึ่งถือว่าช่วงเวลานี้จะเป็นโอกาสที่บริษัทพัฒนาเกมต่าง ๆ นั้นจะได้ขยายให้เกมแต่ละเกมมีอยู่บนหลากหลายแพลตฟอร์มมากขึ้น หรือถือโอกาสออกเกมใหม่ลงบนแพลตฟอร์มที่กำลังนิยมเลย ซึ่งสามารถไปช่วยในเรื่องยอดขายได้
จะกล่าวถึงการเพิ่มขึ้นอย่างเดียวก็คงไม่ได้ จะสังเกตได้ว่าช่วงปี 2010-2013 มีการลดลงของการวางจำหน่ายเกมเป็นอย่างมาก ซึ่งถ้าลองนึกดูดี ๆ แล้ว ช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตมามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางจำหน่ายเกม จึงเป็นไปได้ที่ผู้พัฒนาเกมจะเลือกนำเกมไปจำหน่ายบนแพลตฟอร์มของสมาร์ตโฟนมากขึ้น เนื่องจากสมาร์ตโฟนนั้นเราพกติดตัวตลอดเวลาจะใช้เวลาใดก็ได้ พกพาง่ายกว่าเครื่องเล่นเกมอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น เกม Plants vs. Zombies มีการนำลงแพลตฟอร์มหลายอย่างมากมายในปี 2009 แต่มาช่วงปี 2013 เกม Plants vs. Zombies 2 กลับถูกเลือกที่จะนำลง iOS และ Android เท่านั้น
ทั้งหมดนี้สามารถสรุปโดยภาพรวมได้ว่า ปัจจัยภายนอกหลาย ๆ อย่างนั้นส่งผลต่อการเลือกผลิตเกมทั้งสิ้น เช่น รสนิยมของผู้เล่น อีเวนต์ต่าง ๆ เรตติงของเกมที่เคยออกก่อนหน้า การเปิดตัวและวางจำหน่ายของแพลตฟอร์มใหม่ หรือ อิทธิพลทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้พัฒนาเกมควรคำนึงถึงเป็นอย่างมากในการเลือกผลิตเกม
เริ่มต้นในยุค 80s เราจะเห็นว่าเกมส่วนมากนั้นเป็นเกมคอนโซลภายในบ้าน เมื่อเวลาผ่านไป เกมคอนโซลแบบใช้มือถือและเกมคอมพิวเตอร์เริ่มมีบทบาทมากขึ้น หนึ่งในสาเหตุนั้นอาจเป็นเพราะความล้าหลังของเทคโนโลยี โดยในช่วงยุค 80s และ 90s นั้นมันไม่ง่ายเลยที่จะออกแบบและสร้างเครื่องเล่นเกมขนาดเล็ก รวมถึงคอมพิวเตอร์สมัยนั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการเล่นเกม จนกระทั่งปี 2000 เทคโนโลยีนั้นมีความก้าวหน้าขึ้นจากเมื่อก่อนมากพอสมควร จำนวนของวีดีโอเกมเลยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจนถึงทุกวันนี้
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีนั้นมีความสำคัญมาก และเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนให้โลกก้าวหน้าได้ อย่างกราฟข้างต้นแสดงให้เห็นว่า วงการเกมเติบโตได้มากถึงระดับนี้ ซึ่งมาจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้านั่นเอง
จากกราฟจะสังเกตได้ว่ามีการขึ้นลงหลายครั้ง ซึ่งกราฟนี้ค่อนข้างเกี่ยวพันกับจำนวนการออกของเกม อย่างไรก็ตาม ลองมาเจาะลึกเหตุการณ์บางเหตุการณ์กันว่าทำไมยอดขายถึงขึ้นสูงในปีนั้น ๆ
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ช่วงที่ยอดขายเกมพุ่งสูงจะอยู่ประมาณ 1-3 ปี แล้วจึงตกลงมา เนื่องจากค่ายคอนโซลประกาศเปิดตัวเครื่องคอนโซลใหม่ ทำให้ยอดขายเครื่องเกมรุ่นก่อนตกลงมา และเมื่อมีเครื่องคอนโซลใหม่ออกมา ยอดขายของเกมจะยังไม่ขึ้นสูงทันทีเนื่องจากค่ายเกมต้องศึกษาแพลตฟอร์มนั้น ๆ ก่อน ก่อนที่จะพัฒนาเกมออกมาในช่วง 1-2 ปีหลังจากนั้น และหากเราสามารถผลิตเกมที่ตรงกับความชอบของผู้คนในช่วงนั้น ๆ ได้อย่างพอดิบพอดี เกมนั้น ๆ ก็มีโอกาสที่จะทำยอดขายได้สูงจนไม่น่าเชื่อ
หลังจากทำการวิเคราะห์ข้อมูล พวกเราได้พบบริษัทพัฒนาเกมอยู่ทั้งหมด 627 บริษัท รวมยอดขายทั้งหมดโดยประมาณ 8905.56 ล้านครั้ง ซึ่งพวกเราได้ทำการเลือกบริษัทพัฒนาเกมมา 16 อันดับแรกเพื่อสร้างกราฟ Treemap นี้ขึ้นมา ซึ่ง 16 บริษัทนี้ได้ครองตลาดไป 81.97% ซึ่งนั่นหมายความว่าอีก 611 บริษัทมียอดขายรวมกันเพียงแค่ 18.03% ของตลาดเท่านั้น
Nintendo | 1803.00 ล้านครั้ง (20.04%) |
Electronic Arts | 1132.43 ล้านครั้ง (12.59%) |
Activision | 739.98 ล้านครั้ง (8.23%) |
Sony Computer Entertainment | 614.25 ล้านครั้ง (6.83%) |
Ubisoft | 477.30 ล้านครั้ง (5.31%) |
Take-Two Interactive | 408.69 ล้านครั้ง (4.54%) |
THQ | 345.51 ล้านครั้ง (3.84%) |
Konami Digital Entertainment | 286.01 ล้านครั้ง (3.18%) |
Sega | 272.19 ล้านครั้ง (3.03%) |
Namco Bandai Games | 258.84 ล้านครั้ง (2.88%) |
Microsoft Game Studios | 252.11 ล้านครั้ง (2.80%) |
Capcom | 200.92 ล้านครั้ง (2.23%) |
Atari | 157.67 ล้านครั้ง (1.75%) |
Warner Bros. Interactive Entertainment | 155.04 ล้านครั้ง (1.72%) |
Square Enix | 150.93 ล้านครั้ง (1.68%) |
Disney Interactive Studios | 118.08 ล้านครั้ง (1.31%) |
Others | 1621.87 ล้านครั้ง (18.03%) |
มาดูกันตรงส่วนของ 3 อันดับแรก ประกอบด้วย Nintendo, Electronic Arts และ Activision จะสังเกตได้ว่าบริษัท Nintendo มียอดขายสูงที่สุด ด้วยสาเหตุที่ว่า Nintendo นั้นมีเกมที่โด่งดังอย่าง Super Mario หรือ Pokémon ซึ่งพวกเราค่อนข้างมั่นใจว่าทุกคนน่าจะรู้จักสองเกมนี้ เกมส่วนมากของ Nintendo จะออกแนวการ์ตูน
ต่อมาจะเป็นบริษัท Electronic Arts ยอดขายหลักของบริษัทนี้มาจากซีรีส์เกม FIFA ซึ่งถูกวางจำหน่ายภายใต้เครื่องหมาย EA Sports พร้อมกับอีก 5 เกม Electronic Arts ยังมีซีรีส์เกมที่โด่งดังอีกมากมายอย่าง Battlefield, Need for Speed หรือ The Sims ต่อมาอีกบริษัทที่ยอดขายดีไม่แพ้กันอย่าง Activision ก็มียอดขายหลักมาจากซีรีส์เกม Call of Duty ซึ่งเป็นเกมประเภท Shooter และซีรีส์เกมนี้มีเกมใหม่ออกมาทุกปีตั้งแต่ปี 2005 บริษัทยังมีเกม Shooter ที่โด่งดังอีก เช่น Overwatch เกม Shooter แนวใหม่ซึ่งเป็นที่โด่งดังอย่างมากในปี 2016
โดยจะสรุปได้ว่า อย่างที่สังเกตเห็น บริษัทพัฒนาเกม 3 บริษัทนี้จะมีจุดแข็งหรือจุดเด่นที่แตกต่างกัน ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม 3 บริษัทนี้ถึงครองตลาดได้ถึง 40.86% เลยทีเดียว และยังสังเกตได้อีกว่าทุก ๆ บริษัทนั้นไม่ได้ขายดีไปสักทุกเกม ล้วนมีตั้งแต่เกมที่ไม่ประสบความสำเร็จเลย จนถึงประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาและความพยายามไม่ท้อถอย ซึ่งนั่นเป็นกุญแจหลักสู่ความสำเร็จ
ความคิดเห็นของผู้เขียน: เกมทุกเกมล้วนมีต้นทุนทั้งสิ้น เราไม่ควรดาวน์โหลดเกมละเมิดลิขสิทธิ์ เกมถูกลิขสิทธิ์ไม่ได้มีราคาที่แพงมาก อีกทั้งการสนับสนุนเกมถูกลิขสิทธิ์จะยังเป็นการช่วยผู้พัฒนาเกมและเป็นแรงผลักดันให้พวกเขาผลิตเกมใหม่ ๆ มาในอนาคตอีกด้วย
เซ้นท์
ป๊อก
การ์ตูน
ยะ
แพตตี้
ฟิวส์
โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Problem Solving in Information Technology (PSIT) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)